เชียงใหม่-ลำปางต่อคิวพะเยาสู่เมืองเรียนรู้ระดับโลกปี 2566 หลอมรวมพลังความรู้-พลังพลเมืองเพื่อความอยู่ดีมีสุขในพื้นที่      

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชูองค์ความรู้งานวิจัยท้องถิ่นศึกษาเป็นรากฐานสร้างเชียงใหม่-ลำปาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพื้นถิ่น และปูทางสู่ความเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้โลกของยูเนสโก ต่อเนื่องจากจังหวัดพะเยา ดร.ปุ่น  เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวถึงเส้นทางความสำเร็จของเมืองแห่งการเรียนรู้ บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม ตามแนวทางการให้การสนับสนุนของ บพท.โดยย้ำว่าต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในพื้นที่เป้าหมาย หรือให้ความสำคัญกับเรื่องของ ”ท้องถิ่นศึกษา” ด้วยการค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่น

Read more

สืบเรื่องราวยุคทวารวดีผ่านเครื่องปั้นดินเผาด้วยแสงซินโครตรอน

คณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (อว.) รับตัวอย่างชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาโบราณจากกลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร หวังไขปริศนาเรื่องราวในอดีตยุคทวารวดีผ่านชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาด้วยแสงซินโครตรอน ปูทางสู่ความเข้าใจเรื่องของเทคนิค วิธีการผลิต หรือแม้กระทั่งเรื่องการติดต่อ ค้าขาย แลกเปลี่ยนของคนในสมัยโบราณ กรุงเทพมหานคร – ดร.ศิรินาฏ ศรีจันทร์

Read more

ซินโครตรอนร่วมศรัทธาศิษย์ “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” พิสูจน์พระพุทธรูปทองคำ

คณะนักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมศรัทธาศิษย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย นำเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แบบพกพาพิสูจน์พระพุทธรูปทองคำปางห้ามญาติ ณ วัดป่าสาลวัน ได้ผลวิเคราะห์เป็นทองคำแท้ จากนั้นศิษยานุศิษย์ได้นำไปประดิษฐานเพื่อให้พุทธศาลนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ นครราชสีมา – รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พร้อมคณะนักวิทยาศาสตร์

Read more

วช.หนุนนวัตกรรมเตาเผาศพอัจฉริยะ เพื่อลดปริมาณสารก่อมะเร็งในอากาศ โชว์ผลงานในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ที่ผ่านมา

เกิด แก่ เจ็บ ตาย นับว่าเป็นวิถีทางธรรมชาติของมนุษย์ แต่ละช่วงชีวิตก็มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต มลพิษทางอากาศทุกวันนี้นอกจากจะมาจากปัญหาหมอกควันบนท้องถนน ปัญหาการเผาป่า และ จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐานแล้ว ยังมีมลพิษที่เกิดจากเตาเผาศพของแต่ละวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ในตัวเมือง และ ย่านชุมชน ด้วยเหตุนี้ทำให้คณะทีมวิจัยจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมเตาเผาศพอัจฉริยะขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่ง (วช.)

Read more

อว. จัดบรรเลงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพลงโนรา “ดนตรีศรีวิชัย ดนตรีที่นครศรีธรรมราช”

(เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเวทีบรรเลงเพลง “ดนตรีศรีวิชัย ดนตรีที่นครศรีธรรมราช” จากโครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย

Read more

วว. ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา “ผงสีย้อมผ้า หลากสีสันจากแก่นฝาง” ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างเครือข่ายช่างทอให้เกิดเป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา “ผงสีย้อมผ้า หลากสีสันจากแก่นฝาง” จากการร่วมมือดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างเครือข่ายช่างทอให้เกิดเป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหม

Read more

อว. จับมือ วธ. ลงนามพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศนวัตกรรม ด้าน สอวช. เผยแนวทางพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม และ Soft power ของไทย ต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ระดับสากล

(เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศนวัตกรรมทางวัฒนธรรม ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.

Read more

วช. หนุนทีมวิจัย ม.ราชภัฏพระนคร ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำ จ.สุพรรณบุรี พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้คืนสู่ชุมชน หวังอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ และเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

​ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริง ทั้งเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคม เชิงชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน วช. จึงได้สนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์

Read more

อว. ขับเคลื่อนโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” MOU 4 หน่วยงาน รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

อว. ส่งเสริมแนวทางสร้างรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตที่ เปิดกว้างและตอบรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยโครงการ “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับโอกาสและสร้างแรงจูงใจในการหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นและพัฒนาศักยภาพในการทำงานรองรับวิถีชีวิตใหม่ ดำเนินโครงการฯ โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ร่วมกันลงนามความร่วมมือในการร่วมขับเคลื่อน “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” วันที่ 9

Read more

อว. จัดบรรเลงเพลงคลาสสิก​ คารวะผู้กล้าและผู้เสียสละด้วยเสียงเพลง ดนตรีที่สกลนคร

ช่วงค่ำวันนี้ (วันที่ 26 พฤษภาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  สนับสนุน​การจัดเวทีบรรเลงเพลง คารวะผู้กล้าและผู้เสียสละด้วยเสียงเพลง ดนตรี​ ที่สกลนคร​ โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

Read more