สกสว.เตรียมแผนวิจัยปกป้องความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

วันนี้ (24 พฤษภาคม 2564) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดเวทีเสวนา TSRI Talk ในหัวข้อ “บทบาทการวิจัยและนวัตกรรมในการปกป้องความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ : ช่องว่างและการเติมเต็ม ” โดยเชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญร่วมวิเคราะห์สถานการณ์องค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบัน เตรียมวางแผนบริหารจัดการทุนวิจัย เพื่อให้เกิดความมั่นคง และสมดุลด้านทรัพยากร ธรรมชาติ

Read more

วช. หนุน ม.นเรศวร ผ่าทางตันส่งออกมะม่วงยุคโควิด วิจัยส่งออกทางเรือไปญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ดันยอด100 ตัน/สัปดาห์

ปัจจุบันมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน สามารสร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ในปี 2564 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะส่งออกผลผลิตมะม่วงได้ประมาณ 1,800 ตัน แต่จากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกมะม่วงเกรดพรีเมียมไปญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เกิดการชะงัก เพราะไม่มีเที่ยวบินขนส่ง “โครงการ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกตลาดประเทศญี่ปุ่นโดยการขนส่งทางเรือ” จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะระบายสินค้าในช่วงฤดูกาลผลิต

Read more

วช. สนับสนุน มรภ.อุตรดิตถ์ คิดค้นเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ ทุ่นแรงและเวลาการผลิตเข่งใส่พืชผลการเกษตร

นักวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผลิตเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ ทุ่นแรงและเวลา สร้างรายได้เพิ่ม แก่กลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักสานเข่งไม้ไผ่ จ.อุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คณะผู้วิจัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ นะเที่ยง

Read more

ม.นเรศวร ต่อยอดงานวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมสู่เชิงพาณิชย์

คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เป็นแห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมจากหน่อข้างพันธุ์ดี โดยเริ่มเผยแพร่ผลงานวิจัยครั้งแรกในวารสารเชิงวิชาการ “วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่ 3 (พิเศษ 1)” และ “วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ฉบับ 47 (พิเศษ 3)” ในปี 2559 และนับเป็นการสร้างความฮือฮาในวงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในประเทศไทยเป็นอย่างมาก

Read more

วว. ชูผลสำเร็จ “58 ปี” การดำเนินงาน ตอบโจทย์ประเทศด้วย วทน. ในทุกมิติ เสริมแกร่งเศรษฐกิจ/ผู้ประกอบการ ระบุก้าวอนาคตมุ่งพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญให้สำเร็จเป็นรูปธรรม – ใช้ประโยชน์ได้จริง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)   โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)  ฉลองครบรอบ “ 58 ปี ” การดำเนินงานองค์กร  ชูความสำเร็จนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตอบโจทย์ประเทศในทุกมิติของการเสริมแกร่งเศรษฐกิจ/ผู้ประกอบการ  เผยก้าวในอนาคตมุ่งพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญให้สำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงมากยิ่งขึ้น  พร้อมขยายพื้นที่ดำเนินงานให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค    

Read more

กสว. เผยงบวิจัยโควิดคืบหน้า สร้างความมั่นคงด้านวัคซีนให้ประเทศไทย

วันนี้ (21 พฤษภาคม 2564) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาสาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานเสวนาออนไลน์หัวข้อ “Covid19 กับความกลัว: กลัวโควิด-กลัววัคซีน-กลัวอด” โดยมี นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ , ศ.นพ.ยง

Read more

นักวิชาการไทย ค้นพบพืชวงศ์ขิง 8 ชนิดใหม่ของโลก​ และรายงานครั้งแรกในไทยอีก 1 ชนิด บ่งชี้ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย

ข่าวดีต้อนรับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (22 พฤษภาคมของทุกปี) นักวิชาการไทยค้นพบพืชวงศ์ขิง 8 ชนิดใหม่ของโลก อาทิ ‘กระเจียวจรัญ’ ‘กระเจียวรังสิมา’ ‘ขมิ้นน้อย’ ‘ขมิ้นพวงเพ็ญ’ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงและนักพฤกษศาสตร์ของไทย นอกจากนี้ยังพบพืชวงศ์ขิงที่มีการรายงานใหม่ในประเทศไทยอีก 1 ชนิด เตรียมศึกษาอนุรักษ์ระยะยาว (วันที่ 21 พฤษภาคม) รศ.ดร.สุรพล

Read more

เนคเทค จับมือ หน่วยงานพันธมิตร ร่วมขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม AI ระดับชาติอย่างต่อเนื่อง

21 พฤษภาคม 2564 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) จัดเสวนา AI FOR THAI ก้าวต่อไปสู่แพลตฟอร์ม AI แห่งชาติ ล่าสุด! ได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากร

Read more

วช.หนุน GISTDA พัฒนา COVID-19 iMap ให้สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดในอนาคต

“ข้อมูล” เป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการวิเคราะห์เพื่อให้การตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด แต่ภายใต้สถานการณ์วิกฤตที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และทันต่อสถานการณ์ จึงเป็นเรื่อสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล นายตติยะ ชื่นตระกูล รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า (GISTDA) เปิดเผยว่า เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ในรอบแรก

Read more

กู้วิกฤตโควิด-19 ในเรือนจำ…คลองไผ่รับมอบตู้ความดันบวกจากซินโครตรอนคัดกรองผู้ต้องขัง

จากสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยโควิด-19 ในเรือนจำเป็นจำนวนมาก การคัดกรองผู้ต้องขังจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ผลิตและมอบ “ตู้คัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อแบบความดันบวก” แก่เรือนจำกลางคลองไผ่ จ.นครราชสีมา สำหรับคัดกรองผู้ที่อาจจะติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพื่อรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งการมีตู้คัดกรองเพิ่มขึ้นจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ปลอดภัยและคัดกรองผู้ติดเชื้อได้ดีขึ้น โดยสถาบันฯ ได้ออกแบบตู้คัดกรองให้ผลิตได้ง่าย ช่างท้องถิ่นสามารถรับแบบไปผลิตด้วยวัสดุที่จัดหาได้ในท้องถิ่น และออกแบบตามหลักการยศาสตร์ให้บุคลากรทางการแพทย์นั่งปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม นครราชสีมา : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

Read more