สถาปนา 16 ปีสทน.ชูประโยชน์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ พัฒนาพลังงานทดแทน  นวัตกรรมอาหารฉายรังสี เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม

เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานงานครบรอบ 16 ปี วันสถาปนาสถาบันนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วันดีดี กับเทคโนโลยีนิวเคลียร์” One fine day with nuclear technology (Better solutions for the bright future)  และพระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ให้การสนับสนุนการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์จำนวน 8 รางวัล ประกอบด้วย ประกอบด้วย 1.โรงพยาบาลศิริราช ผลักดันให้เกิดการวิจัยนำไปสู่การให้บริการสารไอโซโทปรังสีเภสัชภัณฑ์รังสี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆที่มีประสิทธิภาพ 2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การวิจัยด้านเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน นำไปสู่การพัฒนาด้านพลังงานทดแทน 3.กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ในโรงเรียน 5.องค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี พื้นที่ต้นแบบการจัดการแมลงวันผลไม้ 6.บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด สนับสนุนงานวิจัย พัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคนิคเชิงนิวเคลียร์ 7.บริษัทไทยอินโนฟู้ด จำกัด ร่วมวิจัยและพัฒนาตลอดจนสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหาร และ8. บริษัท สยาม บลูโทแพซ แอนด์ มาสเทอพีส เจมส์ จำกัด ผู้ผลิตอัญมณีฉายรังสีรายแรกของไทย

และรางวัลผู้มีคุโณปการต่อกิจการของสถาบัน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ธัชชัย สุมิตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิวเคลียร์ 2. รองศาสตราจารย์อัญชลี กฤษณจินดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 3. ผู้ช่วยศาสตรจารย์สุวิทย์ ปุณณะชัยยะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศกรรมนิวเคลียร์

รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์

 รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผอ.สทน.กล่าวในการแถลงข่าวว่า สทน.ได้นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประเทศ และเทรนด์โลกผ่านแผนยุทธศาตร์ สทน.4ปี (พ.ศ.2564-2567)  ทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และการยกระดับสังคมเชิงบูรณาการผ่านกิจกรรมสำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาอาหารพื้นถิ่นด้วยการฉายรังสี เพื่อสร้างนวัตกรรมการฉายรังสีสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านไทย ยกระดับสินค้าเพื่อให้สะอาด ปลอดภัย และมีมาตรฐาน สามารถเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือทางนิวเคลียร์โดยเครื่องไซโคลตรอน เพื่อการพัฒนาทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ทางรังสี ลดการนำเข้าเภสัชรังสี ได้ปีละราว 800 ล้านบาท การเป็นผู้นำทางวิชาการและในระดับนานาชาติผ่านโครงการ TINT2U สนับสนุนทุนวิจัยให้นักวิจัยจากหน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่างๆ

ซึ่งในวันนี้สทน.ได้ร่วมลงนามความร่วมมือเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและเทคโนโลยีนิเคลียร์ฟิวชันกับหน่วยงานเครือข่าย CPaF กับมหาวิทยาลัยต่างๆ 24 มหาวิทยลัย รศ.ดร.ธวัชชัย กล่าว

Leave a Reply

Your email address will not be published.