วช. หนุนแปรรูปของเหลือทิ้งจากการแปรรูปปลาสลิด เสริมรายได้ให้กับเกษตรกร และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหล่ือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปปลาสลิด จึงได้สนับสนุนทุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีโครงการ “การถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหล่ือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ” พัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำพริกจากหัวปลาสลิด คุกกี้เสริมแคลเซียมจากก้างปลาสลิด การสกัดเจลาตินจากเกล็ดปลาสลิด เยลลี่ต้านอนุมูลอิสระจากเจลาตินปลา และผงเขย่ารสน้ำพริกนรกจากเศษเนื้อปลาสลิด นอกจากจะช่วยเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรแล้ว ยังช่วยลดปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจััยแห่งชาติ เปิดเผยว่า เนื่องจากในกระบวนการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรส่วนใหญ่มักจะมีของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก  หากการจัดการไม่ดีก็จะกลายเป็นของเสียที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ เช่น เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ  ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรแแล้ว  ยังช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้สนับสนุนทุนโครงการ “การถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุ  เหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ” เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาสนใจเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้ง  เกิดการผลักดันการผลิิตผลิตภัณฑ์จากของเหลือทิ้ง และส่งเสริมกระบวนการ Zero waste เพื่อขยายผลไปยังกระบวนการอื่นๆ ต่อไป

รศ.ดร. ชัยรัตน์ เตชวุฒิพร  ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หัวหน้าโครงการ “การถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหล่ือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ” เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ทำงานวิจัยร่วมกับกลุ่มแปรรูปปลาสลิดที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มาเป็นเวลานาน ทั้งในส่วนโครงการของมหาวิทยาลัย และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ  พบว่่ามีของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปปลาสลิดเป็นจำนวนมาก  จึึงเกิดแนวคิดในการนำวััสดุเหลือทิ้งเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จึงได้ขอทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โครงการ “การถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหล่ือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ” เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรเพื่อเพิ่มรายได้และลดของเสียในชุมชน โดยใช้รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ และให้ชาวบ้านทำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตามที่ได้รับการอบรม เช่น เกล็ดปลาสลิด นำมาสกัดเป็นเจลาตินแผ่นจากนั้นนำเจลาตินแผ่นไปพัฒนาเป็นอาหารสำหรับผู้สูงอายุ  หัวปลาสลิดวัสดุที่ชาวบ้านเคยทิ้ง นำมาทอดให้กรอบแล้วทำเป็นน้ำพริกหัวปลาสลิด  ก้างปลานำมาทอดกรอบ อบไล่น้ำมันเพื่อไม่ให้มีกลิ่น ป่นเป็นผงแล้วนำมาเป็นส่วนผสมของคุ้กกี้เสริมแคลเซียม  ส่วนร้านที่ทอดปลาสลิดก็จะมีเศษปลาทอดกรอบชิ้นเล็กๆ ที่ไม่สามารถขายได้ก็จะนำมาทำเป็นน้ำพริก นำมาปรุงรสผสมสมุนไพร  พัฒนาเป็นเครื่องปรุงรส (Seasonings) สำหรับใส่อาหาร  และผงเขย่ารสน้ำพริกนรกจากเศษเนื้อปลาสลิด

เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้น นอกจากกลุ่มเกษตรกรที่แปรรูปปลาสลิดซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่แล้ว  ยังมีเกษตรกรกลุ่มย่อยๆ อยู่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น กลุ่มเกษตรกรแปรรูปน้ำฟักข้าว กลุ่มสมุนไพร กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหนังจระเข้  ซึ่งและมีความกระตือรือร้นค่อนข้างมาก  จากเดิมโครงการฯ ตั้งใจเข้าไปอบรมความรู้เรื่องการแปรรูปปลาสลิด  แต่ปรากฏว่าเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ให้ความสนใจมาร่วมประชุมกันหลากหลายตามความสนใจของแต่ละกลุ่ม โครงการจึงให้แนวคิดในเรื่องการใช้วัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของแต่ละกลุ่ม  ซึ่งชาวบ้านสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้อีกหลายประเภท เช่น กลุ่มทำน้ำฟักข้าว นำเมล็ดที่เหลือจากการแปรรูปไปทำเป็นเครื่องประดับ  กลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากหนังจระเข้ นำเศษหนังชิ้นเล็กที่เหลือทิ้ง นำมาเย็บรวมเป็นผืนเพื่อขึ้นรูปเป็นกระเป๋าในสตางค์  กลุ่มสมุนไพรก็นำสมุนไพรที่ผลิตได้มารวมกับกลุ่มปลาสลิดทำเป็นปลาสลิดทอดผสมสมุนไพร นอกจากนี้ก็ยังให้แนวคิดในเรื่องของแพ็คเกจจิ้งไปด้วย จากความสมบูรณ์ของทรัพยากร  และความหลากหลายของกลุ่มอาชีพ  ประกอบกับความกระตือรือร้นของคนในชุมชน ชาวบ้านจึงเสนอให้มีการพัฒนาการเกษตรควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว เพราะสามารถทำได้ทั้งทางรถและทางเรือ

Leave a Reply

Your email address will not be published.