ทางเลือก ทางรอด ท่องเที่ยวไทย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นอกจากส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมากแล้ว ยังเป็นความสงสัยที่ชวนหาคำตอบว่า เราจะก้าวผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างไร โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ และเป็นหนึ่งในหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลกจากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดจัดทำเครื่องมือและกลไกการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของภาครัฐ โดยความร่วมมือของหน่วยงานในศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (คปก.ศบค.) เชื่อมโยงระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการเดินทางเข้าประเทศไทยในรูปแบบของเว็บท่า (Web Portal) ในชื่อ “Entry

Read more

ถอดบทเรียนเหตุการณ์รื้อถอนอาคารถล่ม

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย วช.-สกสว. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 ต.ค.64 เกิดเหตุอาคารอพารต์เมนต์เก่า สูง 6 ชั้นย่านประชาชื่นถล่มลงมาระหว่างรื้อถอนอาคาร ทับคนงานมีผู้ได้รับบาดเจ็บ เหตุอาคารถล่มขณะทำการรื้อถอนเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีตเช่น เหตุการณ์ตึกสูง 8 ชั้นบริเวณซอยสุขุมวิท 87 เกิดถล่มลงมาระหว่างรื้อถอน

Read more

สัมภาษณ์พิเศษ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

“ วช.นำวิจัยพัฒนา ตอบโจทย์ แก้วิกฤตประเทศ  บทบาทสำคัญของวช.จะดูแลทั้งการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร  การวิจัย นวัตกรรม  รวมถึงการให้การสนับสนุนโจทย์ที่ท้าทายทางสังคม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา การเพิ่มประสิทธิภาพ  และการมุ่งสู่การตอบโจทย์ประเด็นหลักที่นำไปสู่ทิศทางของประเทศ”   ความรู้ ความสามารถทางด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และสามารถแข่งขันกับนานาชาติ รวมถึงการยกระดับความเป็นอยู่ให้กับประชาชน รัฐบาล โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

Read more

“เอนก” ชี้เป้างานวิจัยและนวัตกรรม ต้องสร้างประเทศให้มีความเป็นอารยะ ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนฯ “ดีด” ไทยพ้นประเทศรายได้ปานกลางภายใน 7 ปี เผยต้องทำวิจัยแบบก้าวกระโดด คิดแบบมียุทธศาสตร์ และต้องรบให้ชนะ ระบุ อว.มีเอกอัครราชทูตต่างประเทศมาพบเป็นอันดับ 2 รองจากกระทรวงการต่างประเทศ เพราะรู้ว่าเราทำได้

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) กล่าวแถลงนโยบายในการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ในการประชุมวิชาการระดับชาติภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนภิเษก(คปก.) และโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ประจำปี 2564 (The 2021 National RGJ and RRI Conferences) ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนไทยโดยคนวิจัยกับโจทย์ท้าทายในยุควิถีใหม่”

Read more

สทป. ดำเนินโครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วม เพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหารด้านความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่ต้องปฏิบัติหลายประการ รวมไปถึงภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจด้านการรบ เช่น การส่งกำลังเข้าสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และภารกิจการตอบสนองขณะประเทศประสบสภาวะวิกฤตและขาดสัญญาณการสื่อสาร โดยการจัดทำแผนที่สถานการณ์ร่วมจากข้อมูลภาพถ่ายที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับหรือ UAV โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงดำเนินการสถาปนาระบบสื่อสารขึ้นเอง เพื่อสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือของทหารในพื้นที่ฉุกเฉิน และการขยายขีดความสามารถของแผนที่สถานการณ์ช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกกับหน่วยงานด้านความมั่นคง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียมการรับมือ

Read more

ครบขวบปี Win Masks นวัตกรรมรับมือขาดแคลนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์

ในภาวะวิกฤติมักจะผลักให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม และนวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น Win Masks เป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นท่ามกลางวิกฤติขาดแคลนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดในระลอกแรก และเป็นผลงานที่อาศัยความเชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เข้ามาสนับสนุนในการขยายผลการผลิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาคอุตสาหกรรม ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เล่าย้อนถึงกำเนิดหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น Win Masks

Read more

เภสัชรัฐศาสตร์ ปฐมบท

การสร้างสังคมที่มีดุลยภาพของชีวิต เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และโครงสร้างของสังคม และชุมชนได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลใหญ่ 3 ประการ คือ ภูมิอากาศโลก เทคโนโลยี และที่จะไม่สามารถปฏิเสธได้เลยนั่นคือ เชื้อโรคอุบัติใหม่ที่เราต่างเผชิญหน้ากันอยู่คือ โรคโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกยุบตัวอย่างฉับพลันทั้งในด้านอุปสงค์ และอุปทาน อันเนื่องมาจากความพยายามในการควบคุมการขยายตัวของโคโรนาไวรัสที่แพร่เชื้อและกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วไปทั่วทุกมุมโลก การปรับตัวของเศรษฐกิจที่หันมาพึ่งพากำลังซื้อภายในประเทศเป็นหลัก

Read more