วช. หนุน สทน. และ ม. นเรศวร ส่งออกผลไม้สด ด้วยการฉายรังสีก่อนส่งออกไปสหรัฐอเมริกา

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สทน. และมหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการ “การศึกษาผลของการฉายรังสีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงมหาชนกและส้มโอเพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา” โดยมี ดร. หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ จาก สทน. เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการฉายรังสีผลไม้เพื่อการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ดำเนินการวัดการกระจายปริมาณรังสีดูดกลืนในบรรจุภัณฑ์

Read more

วช. ส่งเสริม ม.เกษตร โชว์โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกล้วยไม้สกุลหวาย ทางเลือกใหม่ช่วยคนไทยหายจากโรค

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โชว์ผลงานวิจัยของคนไทย โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกล้วยไม้สกุลหวาย มิติใหม่แห่งวงการแพทย์เพื่อใช้รักษาโรคหลายชนิด ช่วยรักษาอาการปวดท้อง ลดไข้ รักษาอาการบวม ของ ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยไม้ พร้อมต่อยอดสู่การผลิตสารมูลค่าสูงจากกล้วยไม้สกุลหวาย เพื่อขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเชิงหน้าที่ต่อไป ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง

Read more

BCG สาขาเกษตร เดินหน้าพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมข้าวเหนียว ชู “NAGA Belt Road” เป็น Quick Win ของ BCG สาขาเกษตร

BCG สาขาเกษตร ผลักดันการดำเนินงานร่วมกันระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท เกษตรอินโน จำกัด และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เดินหน้าโครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-NAGA

Read more

วช. ชูนักวิจัย มก. ผู้คิดค้นทรัพยากรชีวภาพสัตว์และจีโนมิกส์ของสัตว์ รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ “สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา” ปี 66

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 5 เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ ซึ่งในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก “รองศาสตราจารย์ ดร.ครศร ศรีกุลนาถ” นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

Read more

ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ “อัลลิซิน” ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม สู่เป้าหมายในการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เพื่อประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูลในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ นครราชสีมา – รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food

Read more

GISTDA พร้อมบริการข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ที่รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน

ความแห้งแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง โดยสภาวะฝนแล้งคือภาวะที่ปริมาณฝนตกมีน้อยกว่าปกติ หรือไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในรอบปีได้สองช่วง คือ ความแห้งแล้งช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูร้อน (ครึ่งหลังของเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม) มักเกิดความแห้งแล้งได้ในบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และบางส่วนของภาคกลางและภาคตะวันออก โดยมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ภัยแล้งลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ความแห้งแล้งช่วงกลางฤดูฝน (ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม) เป็นกรณีของฝนทิ้งช่วง มักเป็นเหตุการณ์ที่เกิดเฉพาะถิ่น กล่าวคือเกิดได้ในบางบริเวณ แต่บางปีก็อาจเกิดครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางได้เช่นกัน ลักษณะความแห้งแล้งรูปแบบนี้มักเกิดเด่นชัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Read more

วช.หนุนทีมนักวิจัยจาก มทร.อีสาน ต่อยอดการผลิตน้ำมันไบโอเจ็ต-เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ จากฟูเซลแอลกอฮอล์ในเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์นโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย วช. มุ่งสนับสนุนงานวิจัยที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงรองรับการปรับตัวของภาคส่วนต่าง

Read more

วช. – ศอ.บต. ส่งมอบแม่พันธ์ุแพะ ให้เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ พร้อมผลักดันเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.ธานินทร์ ผะเอม

Read more

วว. โชว์นวัตกรรมเพิ่มผลผลิต/คุณภาพ ลิ้นจี่พันธุ์ค่อมนอกฤดูกาล พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดสมุทรสงคราม มอบนวัตกรรม “ชุดรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลิ้นจี่แบบคลื่อนที่” ให้แก่เกษตรกร เพื่อยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยว

ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.รจนา  ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก) ดร.กุศล  เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส ศนก. และ

Read more

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เปิดงานเทิดพระเกียรติฯ เจ้าฟ้านักอนุรักษ์ สืบสานพระราชปณิธานอนุรักษ์ทรัพยากรไทย ในงานมหกรรมทรัพย์ดิน สินน้ำ 1 – 3 เมษายนนี้

วันที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. : พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรม “ทรัพย์ดิน สินน้ำ” การจัดงานในครั้งนี้เพื่อร่วมสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม พบกับนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ

Read more