สกสว. ชวนจับตาแผนวิจัย ชูเอไอพัฒนาวิจัย ดันเกษตรสมัยใหม่ เสริมจีดีพีประเทศ

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดงาน Workshop RDI in AI for Agriculture and Food งานเสวนาออนไลน์ และรับฟังความคิดเห็น แผนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ครั้งที่ 2 “ความท้าทายใหม่ของประเทศกับการเข้าสู่ยุคเกษตรและประมงแม่นยำ (Precision Agriculture and Aquaculture)” ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อรับฟังข้อมูลจากทุกภาคส่วน มาพัฒนาแผนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศกับการพัฒนาในมิติการเกษตรและอาหาร ที่จะถูกบรรจุในแผนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ฉบับปี 2566 – 2570 ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการเกษตร และด้านระบบดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ
ผู้อำนวยการ สกสว. ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน สกสว. ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2566 – 2570 โดยในแผนฉบับนี้ ภาคนโยบายมองปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในฐานะเป็นเทคโนโลยีที่ไปเชื่อมอุตสาหกรรมหลักของประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ (EV) โดยหน่วยงานด้านการบริหารจัดการทุนที่มีความสำคัญและมีบทบาทกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง คือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สิ่งที่ สกสว. คาดหวัง คือ การจัดทำแผนวิจัยและนวัตกรรมที่เน้นการนำเทคโนโลยีอย่างเอไอมาใช้ในการพัฒนาทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างมีศักยภาพสูง โดย สกสว. ได้รับเกียรติ จาก ผศ.วรรณรัช สันติอมรทัช ที่ปรึกษาหน่วยจัดการความรู้ (SAT) ด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยขับเคลื่อนการทำงานด้านแผนในครั้งนี้


สำหรับ หนึ่งในประเด็นสำคัญของการประชุมับเคลื่อนงานวันนี้ที่น่าสนใจ คือการเกษตร โดยนายภานุ ส้มเกลี้ยง นักวิเคราะห์อาวุโส สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) เปิดเผยข้อมูลสำคัญว่า หากกล่าวถึงภาคเกษตรไทยพบว่าปัจจุบัน มีพื้นที่ การเกษตร 178 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (320.7 ล้านไร่) จาก GDP ของประเทศมีมูลค่าประมาณ 15 ล้านบาท เป็น GDP ภาคเกษตรมีเพียง 1.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของ GDP ทั้งประเทศ จำนวนแรงงานทั้งประเทศ ประมาณ 37.6 ล้านคน เป็นแรงงานภาคการเกษตร 1 ใน 3 หรือประมาณ 12.7 ล้านคน การพัฒนาการเกษตรพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก รูปแบบการเดิบโตเน้นการขยายตัวเชิงปริมาณ เช่น ขยายพื้นที่เพาะปลูกและการใช้ปัจจัยการผลิตที่มากขึ้น เป็นต้น
โอกาสและความท้าทายภาคเกษตรไทยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์ว่าในปี 2573 คือ จะมีความต้องการอาหาร จะเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 35 จากการเพิ่มขึ้นของประชากร โลกที่คาดว่าจะอยู่ที่ 9 พันล้านคน ในปี 2593 ขณะที่พื้นที่การเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทั่วโลกจะต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อม สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลง อัตราการเกิดลดลงอย่างรวดเร็ว สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2565 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ ส่งผลให้โอกาสทางธุรกิจสำหรับสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุโอกาสนี้ “การเกษตรสมัยใหม่” จะเข้ามาช่วยภาคเกษตรกรได้ โดยคำว่าการเกษตรสมัยใหม่ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์ม – การตลาด โดยมีเป้าหมายในการ 1.เพิ่มผลผลิตการเกษตรทั้งในเชิงมูลค่าและปริมาณต่อพื้นที่สูงสุด 2. พร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. ใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด เป็นมิตรกับสิ่งแวคล้อม และ 4. สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ บนฐานข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง แนวทางการพัฒนางานวิจัยด้านเกษตรสมัยใหม่ผ่านการสนับสนุนทุนของ สวก. 1. โจทย์วิจัยมาจากผู้ใช้ (เกษตรกร หรือผู้ประกอบการ) 2. บูรณาการการทำงานร่วมกัน (ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้ใช้ประโยชน์) 3. ระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถแก้ไขได้โดยช่างในระดับพื้นที่ และ4. มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำ เทคโนโลยีตาม รัฐบาลสนับสนุน” อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า สวก. มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ ของงานวิจัย เป็นโจทย์ที่ชัดเจนของเกษตกรและพื้นที่ มีความเป็นไปได้จริง ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยชัด

Leave a Reply

Your email address will not be published.