สพฉ.จับมือ 8 พันธมิตร ปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยข้อมูล (EMS Data-Driven) สู่การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่เท่าเทียม ทั่วถึง มีมาตรฐาน ทันสมัย และมีความยั่งยืน
สพฉ.จับมือ 8 พันธมิตร ปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการปฏิบัติการ และให้บริการในรูปแบบดิจิทัล (EMS Digital Transformation) ขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยข้อมูล อย่างเต็มตัว (EMS Data-Driven) นําไปสู่การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ เท่าเทียม ทั่วถึง และมีมาตรฐาน ให้กับประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
นาวาเอกนายแพทย์พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ท่านเลขาธิการสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา ได้ให้ความสําคัญของการปฏิรูประบบเทคโนโลยี สารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และการขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยข้อมูล เพื่อนําไปสู่การยกระดับการ ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในรูปแบบดิจิทัลทั้งระบบ จึงได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดโครงการการปฏิรูประบบเทคโนโลยี สารสนเทศ และจัดทําเครื่องมือสําหรับการบริหารจัดการข้อมูล หรือ เป็นแพลตฟอร์มกลางสําหรับการบูรณาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของทั้งประเทศ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และการ ให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ชื่อโครงการว่า National EMS Data Exchange Platform องค์ประกอบที่สําคัญของแพลตฟอร์มกลางดังกล่าว ได้แก่ นโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) มาตรฐานชุดข้อมูล (Data Set and Standard) มาตรฐานการเข้าถึงข้อมูล (Data Access Control) การบริหารจัดการ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Data Quality Control) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Control) โดยมี เป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดา้ นการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบและเป็นมาตรฐานของประเทศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งสิ้น 8 แห่ง ได้แก่ สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร)หรือ DGA ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริษัท Coraline บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) ( NT)บริษัทMicrosoftมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ร่วม แถลงข่าว ความร่วมมือ บทบาทหน้าที่ และภารกิจที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าว ในวันที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุม B 601สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากอํานาจหน้าที่ของสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน 2551 ตามมาตรา 15 (3) คือการจัดให้มีระบบปฏิบัติการฉุกเ ฉิน รวมถึงการบริหารจัดการและการพัฒนาระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการด้านการแพทย์ ฉุกเฉิน แล้วนั้นการได้มีโอกาสในการดําเนินโครงการดังกล่าวนี้ จะทําให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการบูร ณาการ แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังทําให้ลดต้นทุน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนี้ในภาพรวมของประเทศ สุดท้ายประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง มีมาตรฐาน ทันสมัย และมีความยั่งยืน