GISTDA พร้อมบริการข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ที่รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน
ความแห้งแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง โดยสภาวะฝนแล้งคือภาวะที่ปริมาณฝนตกมีน้อยกว่าปกติ หรือไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในรอบปีได้สองช่วง คือ ความแห้งแล้งช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูร้อน (ครึ่งหลังของเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม) มักเกิดความแห้งแล้งได้ในบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และบางส่วนของภาคกลางและภาคตะวันออก โดยมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ภัยแล้งลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ความแห้งแล้งช่วงกลางฤดูฝน (ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม) เป็นกรณีของฝนทิ้งช่วง มักเป็นเหตุการณ์ที่เกิดเฉพาะถิ่น กล่าวคือเกิดได้ในบางบริเวณ แต่บางปีก็อาจเกิดครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางได้เช่นกัน ลักษณะความแห้งแล้งรูปแบบนี้มักเกิดเด่นชัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Read more