GISTDA ใช้ดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 (คอมโม สกายเมด 2) ติดตามพื้นที่บางส่วนของพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย พบน้ำท่วมขังแล้วกว่า 69,000 ไร่

GISTDA ใช้ดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 ของวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 06:16 น. ติดตามพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย พบน้ำท่วมขังแล้วทั้งสิ้น 69,866 ไร่ (สีแดง) โดยที่จังหวัดพิจิตรพบ 40,345

Read more

ทีเซลส์โชว์นวัตกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำ “ไบโอพลาสม่าสำหรับรักษาแผลเบาหวาน – เซลส์บำบัดรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว”  ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565  

ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ทีเซลส์ มีบทบาทสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ในประเทศให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา ทีเซลส์ จะมุ่งเน้นที่การสร้างระบบนิเวศน์การวิจัยและสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากนี้ทีเซลส์จะหันมามุ่งเน้นการเชื่อมโยงนวัตกรรมทั้งจากผลงานวิจัยของทีเซลส์ และจากผู้ประกอบนวัตกรรมไทยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น

Read more

ซินโครตรอนร่วมศรัทธาศิษย์ “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” พิสูจน์พระพุทธรูปทองคำ

คณะนักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมศรัทธาศิษย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย นำเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แบบพกพาพิสูจน์พระพุทธรูปทองคำปางห้ามญาติ ณ วัดป่าสาลวัน ได้ผลวิเคราะห์เป็นทองคำแท้ จากนั้นศิษยานุศิษย์ได้นำไปประดิษฐานเพื่อให้พุทธศาลนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ นครราชสีมา – รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พร้อมคณะนักวิทยาศาสตร์

Read more

วช.หนุนงานวิจัย มจธ.ใช้พืชยืนต้นลดฝุ่น PM 2.5 เสริมสร้างคุณภาพที่ดีในอากาศ

มลพิษในอากาศทุกวันนี้ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ ปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวเนื่องมาจากระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคปอด ภูมิแพ้ และหอบหืด รวมทั้งสารระเหยหลายชนิดยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง มีงานวิจัยและนวัตกรรมหลายชิ้นงาน ที่เข้ามาช่วยป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองเหล่านี้ รวมไปถึงงานวิจัยการใช้พืชยืนต้นเพื่อบำบัดฝุ่นละอองในอากาศอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินการโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ( มจธ. ) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช. ) และได้นำมาจัดแสดงในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ

Read more

วช. – วว. เปิดต้นแบบใช้เทคโนโลยียกระดับปลูกป่า เพาะเห็ดไมคอร์ไรซ่าร่วมกับการปลูกต้นไม้สร้างรายได้ให้ชุมชน

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น” ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

Read more

วช. จัดจิตอาสาปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 12 สิงหาคม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กร

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมจิตอาสา “ปลูกต้นไม้ สร้างฝายชะลอน้ำ คืนชีวิตให้กับแผ่นดิน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565  ส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ น้อมนำหลักการทรงงานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต

Read more